เมนู

พยาบาทสงเคราะห์เข้าในมโนกรรมก็จริง ถึงอย่างนั้นพึงทราบว่า ท่าน
กล่าวซ้ำไว้อีกด้วยอำนาจนิวรณ์.

อธิบายนิวรณ์ 5


[33] บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺฌาลุ ได้แก่ผู้มีปกติ
เพ่งเล็งสิ่งของของคนอื่น. บทว่า กาเมสุ ติพฺพสราคา ได้แก่ผู้มีกิเลส
คือราคะอย่างแรงกล้าในวัตถุกามทั้งหลาย.
ถามว่า สมณพราหมณ์ผู้มีกิเลสคือราคะแรงกล้าเหล่านั้น จะเรียก
ร้องหาภัยและอารมณ์อันน่ากลัวมาได้อย่างไร ?
ตอบว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้พิจารณาอารมณ์ให้ละเอียด
ถี่ถ้วน เมื่อท่านไม่ได้กำหนดพิจารณาอารมณ์ให้ละเอียดถี่ถ้วน อยู่ในป่า
สิ่งที่เห็นในตอนกลางวัน ย่อมปรากฏเป็นภัยและเป็นของน่ากลัวในตอน
กลางคืน เธอมีจิตเป็นอกุศล (อยู่แล้ว ) ย่อมจะหวาดสะดุ้งด้วยภัยและ
สิ่งที่น่ากลัวแม้เพียงเล็กน้อย คือเห็นเชือกหรือเถาวัลย์ก็สำคัญว่าเป็นงู
เห็นตอไม้สำคัญว่าเป็นยักษ์ เห็นเนินดินหรือภูเขาก็สำคัญว่าเป็นช้าง เป็น
เหมือนถูกสัตว์ร้ายมีงูเป็นต้นทำร้ายเอาฉะนั้น. คำที่เหลือก็เหมือนกับที่
กล่าวมาแล้วนั่นแล.
บทว่า พฺยาปนฺนจิตฺตา แปลว่า มีจิตวิบัติไป เพราะละสภาพปกติ
เสีย. เป็นความจริง จิตที่คละเคล้าอยู่กับกิเลสย่อมละสภาพปกติกลับกลาย
เป็นจิตเสียไป เหมือนข้าวและกับเก่าที่บูดฉะนั้น.
บทว่า ปทุฏฺฐมนสงฺกปฺปา แปลว่า มีจิตคิดไปในทางไม่ดี อธิบาย
ว่า ประกอบด้วยความดำริแห่งจิตที่ไม่ดี คือทำคนอื่นให้เสียประโยชน์.